สรุปภาษี E-Commerce ปี 2562

สรุปภาษี E-Commerce ปี 2562

อีคอมเมิร์ซ

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

229 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

สรุปภาษี E-Commerce ปี 2562 

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด e-Commerce โดยจะเห็นได้ว่า

ช่องทางการขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหน้าร้านขายของออนไลน์ผ่าน Lazada หรือ Shopee

หรือแม้กระทั่งการเปิดบริการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทาง Social Network อย่าง Facebook  Instagram หรือ

Twitter ด้วยอัตราส่วนการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มสูงขึ้น และความสะดวกรวดเร็วในการเข้า

ถึงร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้มูลค่าการซื้อขายสินค้าออนไลน์นอกระบบเหล่านี้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น

อย่างประเมินค่าไม่ได้ โดยมีตัวเลขรายงานจากกรมสรรพากรว่าจำนวนผู้ขายสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยนั้น

สูงถึง 500,000 ราย และยังมีผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้ามาดำเนินการค้าขายในไทยมากถึง 350,000

ราย ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาทางภาครัฐยังไม่ได้มีนโยบายในการจัดเก็บภาษีกลุ่มผู้ค้าขายในส่วนนี้ที่ชัดเจนนัก

แน่นอนว่าการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมหนีไม่พ้นการเก็บภาษีในที่สุด เมื่อสภานิติบัญญัติ

แห่งชาติได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรว่าด้วยเรื่องระบบ e-Payment

โดยในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้กำหนดให้สภาบันการเงินต้องรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรม

ลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากร โดยธุรกรรมลักษณะเฉพาะนั้นเป็นธุรกรรมลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้:

  1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันแล้ว มากกว่าหรือเท่ากับ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป 

  2. ฝากหรือรับโอนทุกบัญชีรวมกันแล้ว มากกว่าหรือเท่ากับ 400 ครั้ง และมียอดรวมเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลข้ามธนาคาร ทำให้หากผู้ค้าขายทำการกระจายบัญชีไป

หลาย ๆ ธนาคาร อาจพอเลี่ยงการตรวจสอบจากกรมสรรพากรได้บ้าง หรืออาจเลือกใช้บริการธนาคารต่าง

ประเทศมากขึ้น 

ทั้งนี้การยื่นภาษี e-Commerce จะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็นรูปแบบบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่

ได้มีการจดทะเบียนบริษัทใด ๆ หรือรูปแบบนิติบุคคล โดยมีการคำนวณภาษีต่างกันดังนี้:

  1. บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิและเงินได้พึง

  2. ประเมิน
    โดยภาษีเงินได้สุทธิจะคำนวณจากรายได้ หรือเงินได้จากการขายสินค้าและบริการ (ประเภทที่ 8) หักลบ

  3. ค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราเหมาและหักตามค่าใช้จ่ายจริง โดยขึ้นอยู่กับอัตราค่าใช้

  4. จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดของธุรกิจแต่ละประเภท และหักลบค่าลดหย่อน อาทิเช่น ประกันชีวิต บุตร
    คู่สมรส เป็นต้น 

ในส่วนของภาษีเงินได้พึงประเมินนั้น ในกรณีที่มีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือนสูงเกินกว่า 60,000 บาท

ให้นำยอดเงินได้นั้นคูณด้วย 0.005 และหากผลลัพธ์นั้นต่ำกว่า 5,000 บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่หาก

มากกว่าจะต้องทำการเปรียบเทียบระหว่างวิธีการคำนวณภาษีเงินได้สุทธิและวิธีการคำนวณภาษีเงินได้พึง

ประเมิน โดยเลือกวิธีการที่ได้จำนวนภาษีสูงกว่า 

  1. นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยคำนวณตามเกณฑ์ที่เรียกว่า “กำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร” 

ทั้งนี้หากธุรกิจ e-Commerce นั้น ๆ มีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี ผู้ประกอบการธุรกิจนั้น ๆ จะต้อง

ทำการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีซื้อ-ขาย และ

ยื่นแบบแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมชำระภาษีเพิ่มเติม

ทั้งนี้กรมสรรพากรยังคงพยายามผลักดันร่างกฎหมายการเก็บภาษีเพิ่มเติมกับผู้ค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์

หรือ e-Commerce อย่างต่อเนื่อง โดยกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังได้เสนอร่าง พ.ร.บ. 3 ฉบับเมื่อ

เดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้แก่:

  • ฉบับที่ 1: พ.ร.บ. แก้ไขกฎหมายภาษี ให้สถาบันการเงินต้องรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากร

  • ฉบับที่ 2: พ.ร.บ. แก้ไขกฎหมายภาษี ให้เก็บภาษีกับการส่งพัสดุสินค้าจากต่างประเทศที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาทเพิ่มเติม

  • ฉบับที่ 3: พ.ร.บ. แก้ไขกฎหมายภาษี เพื่อเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในต่างประเทศ 

ซึ่งการเสนอร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับยังคงเป็นที่จับตามองเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นร่างกฎหมายที่จะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ e-Commerce หรือธุรกิจออนไลน์โดยตรง 

Comments