Branding

Branding

การสร้างแบรนด์และประชาสัมพันธ์

Varinthon Sutawongse

Varinthon Sutawongse

288 week ago — ใช้เวลาอ่าน 3 นาที

จริงหรือ "ที่ว่า"...

“สร้างแบรนด์สิคะ ก็ได้ราคาเอง

ทำ story ก็ได้ราคาแพง

พัฒนาให้ดูแปลก แหวกแนว

สร้างสรรค์ ก็ได้ราคา”

 

เวลาเราซื้อสินค้าอะไรที่เป็นขาประจำ...เพราะสิ่งเหล่านี้รึเปล่านะ ลองถามใจตัวเองดูว่า เราซื้อเพราะอะไร ถ้า...อยากได้...ถ้าอยากได้ลูกค้า "สตรอง" ติดใจ เหนียวแน่น อยู่กันยาว ๆ ก็ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึก "คุ้ม" คุ้มค่าทุกครั้งที่ซื้อและใช้…ถ้าอยากได้ลูกค้า "หวือหวา" ตื่นเต้น ก็ต้องออกสินค้าใหม่โดนใจบ่อยๆ จัดจ้านโดนใจ...ถ้าอยากได้ลูกค้า "หลงรัก" in love สินค้าเราก็ต้องรักษาคุณภาพและพัฒนาต่อเนื่อง ในจุดที่เขารักไปนาน ๆ

 

แล้ว...แบรนด์สำคัญไหม แบรนด์ก็สำคัญ สตอรี่ก็สำคัญ แต่ทุกอย่างเป็นองค์ประกอบกัน ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ สตอรี่ และไม่หันมามองคุณลักษณะและมาตรฐานที่ทำให้ลูกค้ารัก ทุกอย่างต้องมีองค์ประกอบที่สมดุล ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีกับเรา ก็ดึงดูดให้ใช้สินค้าเราไปนาน ๆ

 

มาดู 3 เรื่องสำหรับเริ่มต้น Branding ยุคนี้นอกจากเป็นยุค 4.0 การเป็น Creative Economy ก็ผลักดันให้คนที่มีสินค้าอยู่แล้วหันมาสร้างแบรนด์ สร้างมูลค่า อาจจะด้วยนวัตกรรม หรือ วัฒนธรรม ก็ตาม บางคนก็บอกว่าสร้างได้ด้วยตัวเองภายใน 5 นาที บางคนก็บอกว่า...โอย ยาก ต้องจ่ายแพงถึงจะได้ดี ลองคิดกันดูดีไหมว่า เรื่องแบรนด์ต้องทำอะไรกันบ้าง

 

1. คนมี "ชื่อ" - แบรนด์...มี "ชื่อ+สัญลักษณ์” ข้อนี้เชื่อว่าทุกกิจการก็ต้องมี เพื่อให้ลูกค้าเรียกผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการค้าของเราอย่างถูกต้อง

 

2. คนมี "ร่างกาย" - แบรนด์…มี "ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ" ข้อนี้ก็ต้องดูนะคะว่าสินค้าของเราทำเพื่อใคร คนกลุ่มใหญ่ หรือคนกลุ่มเล็ก ...หากบอกว่า “ก็ขายทุกคนแหละค่ะ" อันนี้ก็ต้องกลับไปทบทวนกันว่า ใครซื้อสินค้าเรามากที่สุด และเป็นขาประจำหรือแฟนคลับตัวจริงของสินค้าเรา ถ้าไม่รู้ก็เริ่มต้นทำความเข้าใจให้มาก เพื่อเราจะได้รู้ชัดว่าคนกลุ่มไหนแน่ที่ปลาบปลื้มเรา

 

3. คนมี "นิสัย" – แบรนด์…มี "บุคลิกภาพ" การกำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์ เป็นการกำหนดตัวตนของสินค้า ตัวตนของกิจการออกมาให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและคนทั่วไปได้รับรู้...แล้วสร้างบุคลิกกันตรงไหนล่ะถึงจะเห็นว่าแบรนด์มีบุคลิกภาพ ก็ต้องใช้ Graphic ที่เป็นองค์ประกอบของชื่อ เครื่องหมายการค้าสัญลักษณ์ ลาย สีสัน ตัวอักษรหรือฟอนต์ รวมทั้งตัวสินค้าด้วย

 

จากทั้ง 3 ข้อจะเห็นว่าถ้ากิจการไม่เคยรู้จักลูกค้าตัวเอง ไม่รู้ว่าลูกค้าชอบอะไรในผลิตภัณฑ์ของเรา หรือว่าไม่ชอบอะไร การกำหนดบุคลิกภาพก็จะทำอย่างที่เจ้าของชอบ หรือยึดเอาความสวยมาเป็นที่ตั้ง ทำให้เมื่อออกมาแล้วอาจไม่ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีโอกาสส่งผลให้คนที่ยังไม่เป็นขาประจำก็อาจเปลี่ยนความชอบไปหาคู่แข่งหรือสินค้าทดแทน ส่วนถ้าชอบมากแต่ออกแบบจนไม่มั่นใจว่าเป็นสินค้าตัวเดิมไหม ก็พาลจะไม่ซื้อ นึกว่าเป็นของปลอม ก็เสียหาย จึงควรเริ่มหาหรือเก็บข้อมูลก่อนก็แล้วกัน แล้วจึงค่อย ๆ ดำเนินการกันต่อไป

 

Comments

โพสต์โดย

Varinthon Sutawongse

1. บริการจัดอบรม สัมมนา และงานที่ปรึกษาองค์กร (ภาคเอกชน) และที่ปรึกษาโครงการภาครัฐ 2.บริการให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาช่องทางการตลาด พัฒนาทีมขาย จัดการบริหาร...