"Blockchain" Game Changer ของสถาบันการเงิน

"Blockchain" Game Changer ของสถาบันการเงิน

Technology

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

241 week ago — 3 min read

 

มารู้จักกับ Blockchain

 

Blockchain คือ เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการเก็บและจัดการฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ โดยทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายจะสามารถรับทราบข้อมูลได้โดยตรงและทั่วถึงกัน โดยไม่ต้องผ่านคนกลางมาคอยประสานงานส่งผ่านข้อมูล

 

ทำให้การทำธุรกรรมเป็นไปได้อย่างอิสระ สะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญคือมีความโปร่งใสสูง เพราะทุกคนสามารถเห็นข้อมูลได้เหมือนกัน และไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ สมาชิกจะรับรู้หากมีการพยายามทำการแก้ไขข้อมูล สมาชิกในเครือข่ายจึงสามารถช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ รวมไปถึงสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ด้วย

 

การทำงานของ Blockchain นั้นคล้ายกับการทำงานของ Google Drive ที่ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล สามารถเห็นข้อมูลได้เหมือนกัน แต่เปลี่ยนจากบัญชีระดับบุคคล เป็นการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง นำไปสู่การพัฒนาให้เกิด Smart Contract หรือสัญญาแบบดิจิทัลขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง

 

บทบาทของ Blockchain ในอุตสาหกรรมการเงิน

 

ก่อนหน้านี้ Blockchain ถูกนำมาใช้ในการซื้อขายเงินสกุล Crypto หรือเงินออนไลน์ เช่น Ethereum, Ripple และ Zcash เพราะเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบได้และมีความปลอดภัยสูง แต่ปัจจุบันได้มีการนำ Blockchain มาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมธนาคาร

 

ตัวอย่างเช่น SCB เป็นธนาคารแรกในไทยที่จับมือกับ Ripple เริ่มนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้ในการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยเริ่มใช้งานในญี่ปุ่นเป็นที่แรก เพื่อช่วยย่นระยะเวลาของการโอนเงินระหว่างประเทศจากเป็น 10 วัน เพราะผ่านคนกลางหลายคน ให้สามารถทำได้สำเร็จภายในไม่กี่นาที และยังช่วยลดค่าธรรมเนียมได้มากอีกด้วย เพราะข้อมูลของผู้โอนและผู้รับอยู่ใน Blockchain เดียวกัน

 

สรุปประโยชน์ของ Blockchain กับธุรกรรมการเงิน

 

  1. ช่วยเรื่องความปลอดภัยในการทำธุรกรรม เพราะเมื่อข้อมูลถูกบันทึกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และยากต่อการแฮคข้อมูล

 

  1. ช่วยเรื่องความโปร่งใสในการทำธุรกรรม เพราะทุกคนในเครือข่าย Blockchain สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน สามารถตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมปัจจุบัน และย้อนหลังได้

 

  1. ช่วยประหยัดเวลาในการทำธุรกรรม ย่นเวลาในการทำธุรกรรมการเงิน เพราะข้อมูลของสมาชิกใน Blockchain สามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง

 

  1. ลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม เมื่อสามารถทำธุรกรรมได้ โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ก็ทำให้ไม่มีค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้คนกลางไปโดยปริยาย

 

ในปัจจุบันยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ใช้ Blockchain เพื่อพัฒนาระบบรถยนต์ไร้คนขับ อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ใช้ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แบบ Smart Contract หรือสัญญาซื้อขายแบบดิจิทัล ไม่ต้องมากังวลกับเอกสารให้ยุ่งยาก อุตสาหกรรมการแพทย์ใช้ในการดูข้อมูลการรักษา และการได้รับยาของคนไข้อย่างละเอียดข้ามโรงพยาบาลได้ นอกจากนี้ยังใช้ในการระดมทุนช่วยเหลือ เพราะสามารถตรวจสอบได้อย่างละเอียดว่าเงินถึงมือผู้ที่ขอความช่วยเหลือจริงรึเปล่า คาดว่าในอนาคต Blockchain จะเข้ามามีบทบาทและใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในทุกอุตสากรรม

 

 

Comments