ก้าวผ่านจุดอับของแบรนด์

ก้าวผ่านจุดอับของแบรนด์

การพัฒนาธุรกิจ

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

254 week ago — ใช้เวลาอ่าน 2 นาที

ทุกแบรนด์อาจพบกับจุดที่สูงสุดของความโด่งดังไปแล้ว และกลับมาสู่จุดเริ่มต้นที่แบรนด์เริ่มไม่น่าสนใจหรือไม่มีอะไรตื่นเต้นเหมือนเดิมอีก ส่งผลกระทบให้ยอดขายเริ่มนิ่ง ลูกค้าเริ่มหันไปสนใจคู่แข่งหรือสินค้าตัวอื่นที่น่าตื่นเต้นมากกว่า

 

สินค้าบางแบรนด์ผู้บริโภคอาจจะรู้จักดีอยู่แล้ว แต่เมื่อต้องมีการสร้างสินค้าใหม่เพื่อให้เกิดความรู้สึกแปลกใหม่แก่ผู้บริโภค หลายแบรนด์จึงเลือกใช้วิธีการสร้างสินค้าใหม่ และได้สร้างเรื่องราวและความน่าสนใจใหม่ ๆ เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ว่าทำไมต้องซื้อสินค้านี้ หรือเสียเงินแล้วจะได้อะไร

 

ดังนั้น เมื่อแบรนด์กำลังเดินเข้าสู่จุดอับหรือจุดนิ่ง การต่อยอดหรือการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ถือเป็นสิ่งที่ควรรีบทำ โดยใช้วิธรการสร้างแบบ Functional Story และ Emotional Story คือวิธีการสร้างเรื่องราวให้กับแบรนด์ขึ้นใหม่ เพื่อให้แบรนด์มีคุณค่าและน่าสนใจ เพราะการสร้างเรื่องราวทำให้แบรนด์ดูมีมูลค่าจะกระตุ้นความน่าสนใจและความตื่นเต้นให้กับลูกค้าได้อีกครั้ง

 

  • การสร้างแบบ Functional Story ใช้ได้กับสินค้าที่ต้องใช้เทคนิคและการใช้งานจริงเพื่อให้ได้ประโยชน์จากสินค้าได้มากที่สุด โดยส่วนมากจะเป็นสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ต้องมีการพัฒนาตามยุคสมัยและมีฟังก์ชั่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น และไม่ใช่เพียงแค่ฟังก์ชั่นเท่านั้นแต่ต้องมีการพัฒนารูปแบบและการดีไซน์สินค้าให้ใช้งานได้ตรงกับใจของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

  • การสร้างแบบ Emotional Story คือการสร้างเรื่องราวและคุณค่าให้กับสินค้าที่มีการใช้งานเพียงรูปแบบเดียว อย่างเช่น กระเป๋าสะพาย โดยรู้กันอยู่แล้วว่าน่าจะเป็นกระเป๋าขนาดไหนหรือรูปแบบใด ฟังก์ชั่นเดียวที่กระเป๋ามีคือการใส่ของ แต่การสร้าง Emotional Story ให้กับสินค้าจะสามารถดึงมูลค่าของสินค้าเพิ่มขึ้นมาได้อีก แม้ว่าสินค้านั้นจะยังคงมีรูปแบบการใช้งานเพียงอย่างเดียวก็ตาม แต่ผู้บริโภคก็จะยอมเสียเงินซื้อเพราะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าจากเรื่องราวที่สร้างขึ้น

 

โดยสรุปคือเพื่อไม่ให้ธุรกิจเข้าสู่จุดนิ่ง เราอาจต้องปรับตัวและพัฒนาสินค้าอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ลืมเราหรือหันไปเลือกคู่แข่งแทน

 

Comments