บัตรเครดิตกับ SMEs อำนาจที่ยังเหลืออยู่

บัตรเครดิตกับ SMEs อำนาจที่ยังเหลืออยู่

แรงบันดาลใจ SME

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

263 week ago — ใช้เวลาอ่าน 2 นาที

สมัยนี้พกกระเป๋าเงินแค่บัตรก็เต็มกระเป๋าแล้วไหนจะมือถืออีก คนส่วนใหญ่เริ่มติดนิสัยพกเงินสดน้อยลงและกดเงินสดมาพกติดตัวน้อยลงอีกเช่นกัน จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะจ่ายเงินหลักสิบไปจนถึงหลักแสน เราสามารถใช้วิธีการจ่ายผ่าน Mobile Banking หรือบัตรเครดิตได้แบบง่ายดาย แต่คนส่วนใหญ่นิยมที่จะจ่ายผ่านบัตรเครดิตมากกว่าเนื่องจากบัตรเครดิตสามารถผ่อนชำระเป็นรายเดือนได้ แถมยังสามารถสะสมแต้มบัตรเครดิตเพื่อนำไปแลกสิทธิพิเศษและของรางวัลมากมายรวมทั้งส่วนลดต่าง ๆ

 

เมื่อก่อนอาจจะมีแค่ร้านที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าเท่านั้นที่จะมีเครื่องรูดบัตร แต่ตอนนี้ SMEs และร้านค้าออนไลน์ก็สามารถมีเครื่องรูดบัตรและสามารถทำการจ่ายเงินผ่าน Payment Gateway แบบออนไลน์ได้ด้วย ทำให้ผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินได้อย่างปลอดภัย การจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตไม่ว่าจะจ่ายผ่านทางช่องทางไหนหรือร้านค้าแบบไหนก็สามารถสะสมแต้มบัตรเครดิตได้เช่นเดียวกัน ทำให้ผู้บริโภคยังได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายผ่านบัตร

 

ถ้าลองเปรียบเทียบโอกาสในการขายระหว่างร้านที่รับเงินสดแต่เพียงอย่างเดียวกับร้านที่รับทั้งบัตรเครดิตและเงินสด เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าร้านค้าที่รับบัตรเครดิตด้วยมีโอกาสในการขายสินค้าได้มากกว่า เพราะมีช่องทางในการจ่ายเงินให้ลูกค้าได้เลือกมากกว่า แต่การรูดบัตรเครดิตเจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบต่อค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเก็บจากยอดที่รูดซื้อสินค้า เป็นหน้าที่ของเจ้าของกิจการว่าจะมีการวางแผนในการจัดการเรื่องค่าธรรมเนียมที่ต้องแลกกับความสะดวกในการจ่ายเงินของลูกค้าอย่างไร

 

บัตรเครดิตยังมีบทบาทต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ไม่น้อย หากเกิดการสูญหายสามารถแจ้งปิดออนไลน์ได้ทันที ทั้งยังสามารถเช็คการใช้จ่ายได้ง่ายกว่าการกดเงินสด

 

นอกจากบัตรเครดิตที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคแล้วยังเป็นที่นิยมในเจ้าของกิจการอีกด้วย เพราะหากเจ้าของกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางต้องการหมุนเงินก้อนโดยไม่จำเป็นต้องยื่นกู้ แต่ใช้วงเงินของบัตรเครดิตเป็นเสมือนการกู้เงินแบบด่วน ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการกู้เงินโดยไม่ต้องใช้เอกสารหรือกู้เงินนอกระบบเพื่อเอามาหมุนเวียนในกิจการ ดังนั้น เห็นได้ว่าบัตรเครดิตยังคงมีบทบาทหรืออำนาจอยู่สำหรับการดำเนินกิจการในปัจจุบัน

 

Comments (2)