ประเทศไทย 4.0 จะแข่งขันกับเศรษฐกิจโลกอย่างไรในยุค Deep Tech เปิดมุมมองของคุณอรพงศ์ เทียนเงิน CEO แห่ง Digital Ventures

ประเทศไทย 4.0 จะแข่งขันกับเศรษฐกิจโลกอย่างไรในยุค Deep Tech เปิดมุมมองของคุณอรพงศ์ เทียนเงิน CEO แห่ง Digital Ventures

ดิจิตอลและเทคโนโลยี

Digital Ventures Technology

Digital Ventures Technology

307 week ago — ใช้เวลาอ่าน 7 นาที

ประเทศไทยกำลังก้าวไปข้างหน้าด้วยนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแผนที่ผลักดันให้เราพร้อมสำหรับการแข่งขันด้านเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่หากมองในรายละเอียดแล้ว ยังมีหลายส่วนที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงเพื่อเร่งความเร็วให้ทันการแข่งขันทางดิจิทัลหรือ Digital Competitiveness โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงหรือ Deep Tech ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวเร่งความเร็วด้านการแข่งขันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

การผลักดัน Deep Tech เพื่อไล่ให้ทันความเร็วของโลกจึงเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดโครงการ U.REKA ซึ่ง Digital Ventures เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยวันนี้เรามีข้อมูลสถิติที่น่าสนใจซึ่งคุณอรพงศ์ เทียนเงิน CEO แห่ง Digital Ventures แชร์ให้ฟังในงานแถลงข่าวครั้งล่าสุด

 

ประเทศไทย 4.0 กับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลโลก

แม้ว่าเราจะมีนโยบายประเทศไทย 4.0 แต่หากพูดถึงความพร้อมในภาพรวมของประเทศที่จะไล่ให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยังถือว่ามีอีกหลายปัจจัยที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และยังคาดกันว่าการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของทั่วโลกนั้นจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่าในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเสียอีก ยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีนที่ Forbes รายงานว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศจีนนั้นกำลังจะจะมีมูลค่าสูงขึ้นแซงเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม โดยคิดเป็น 30% ของ GDP ประเทศจีนแม้ว่าจะยังใช้เพียงเทคโนโลยีพื้นฐานเท่านั้น แถมยังรวมถึงการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงหรือ Deep Tech ที่กำลังเข้ามามีบทบาทในเวลาอันใกล้ และจะเพิ่มขีดจำกัดของการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีไปได้ไกลอีกเป็นเท่าตัว เชื่อว่าเทคโนโลยีต่างๆ ยังพร้อมที่จะเข้ามา Disrupt แวดวงอื่นๆ และขยายสัดส่วนในระบบเศรษฐกิจได้อีกมากมาย

 

การแข่งขันด้านดิจิทัล วัดจาก 3 ปัจจัย “Knowledge, Technology และ Future Readiness” แล้วประเทศไทยอยู่ตรงไหน?

 

 

หันมามองที่ความพร้อมในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยกันบ้าง คุณอรพงศ์ได้นำข้อมูลด้านการแข่งขันดิจิทัลโลกหรือ World Digital Competitiveness จาก IMD ซึ่งเก็บข้อมูลจากประเทศต่างๆ กว่า 60 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมาแชร์ให้ฟัง โดยอ้างอิงข้อมูลจาก IMD ที่มีการวัดประเมิน Digital Competitiveness จาก 3 ปัจจัยหลัก และ 3 ปัจจัยย่อยในแต่ละหัวข้อหลักโดยดูจาก

  1. ความรู้และทักษะ (Knowledge) ประกอบไปด้วย
  • กลุ่มคนที่มีความสามารถ
  • การลงทุนในการศึกษาและฝึกฝนทักษะ
  • ความเข้มข้นด้านการค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์

  1. สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technology Environment) นั่นก็คือ
  • โครงสร้างมาตรฐานการสนับสนุน หรือมาตรการที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี
  • ทุนและทรัพยากร
  • โครงสร้างการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

  1. การพร้อมที่จะปรับตัวกับสิ่งใหม่ๆ ในอนาคต (Future Readiness) หมายถึง
  • ทัศนคติต่อการปรับตัวทางดิจิทัล
  • ความคล่องตัวของธุรกิจ
  • การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ

IMD ได้ระบุว่า ความพร้อมในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 41 จาก 63 ประเทศ เมื่อดูตัวเลขให้ละเอียด จะพบส่วนที่น่าเป็นห่วงอยู่ นั่นก็คือ การลงทุนในการศึกษาและการฝึกฝนทักษะด้านดิจิทัล ไทยอยู่อันดับที่ 47 ส่วนทัศนคติต่อการปรับตัวด้านดิจิทัลอยู่อันดับที่ 51 และในด้านการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่อันดับที่ 53

ในอีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยถือว่ามีความพร้อมด้านเงินและธุรกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจดิจิทัล ประกอบด้วย ด้านการทุนและทรัพยากรอยู่อันดับที่ 21 และความคล่องตัวของธุรกิจได้อันดับที่ 32

 

 

อกจากนี้ยังมีส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งถือว่ามีความพร้อมมาก ได้แก่ ด้านการบริการธนาคารและภาคการเงินได้อันดับที่ 10 และด้านจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือก็สูงเป็นอันดับที่ 6

คุณอรพงศ์ยังได้ชี้ตัวอย่างประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันด้านดิจิทัลอันดับ 1 ของโลก นั่นก็คือสิงคโปร์ โดยจุดแข็งที่น่าสนใจของสิงคโปร์คือด้านการศึกษา ทัศนคติต่อการปรับตัวด้านดิจิทัลซึ่งมองกว้างไปถึงการเป็นพลเมืองโลกหรือ Globalization บริการของภาครัฐฯ แบบ e-Government และด้าน Cyber Security

 

 

Tech กุญแจสำคัญที่จะช่วยเข้ามาผลักดัน Digital Competitiveness หรือการแข่งขันด้านดิจิทัลของไทย

จากตัวเลขต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า หากเราไม่สามารถไล่ทันการแข่งขัน ย่อมทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยทันต่อการเปลี่ยนแปลง คือ การพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงหรือ Deep Tech ให้เกิดขึ้นโดยฝีมือคนไทย

 

 

สรุปปัจจัยการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยโดย IMD

จึงเกิดเป็นที่มาของโครงการ U.REKA ที่จะต้องร่วมมือกับภาคการศึกษาในไทยเพื่อเน้นให้เกิด Ecosystem สำหรับ Startup ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้วย Deep Tech โดยเฉพาะ หากมองด้านการแข่งขันในยุค Digital Transformation เทคโนโลยีชั้นสูงไม่เพียงแต่ช่วยให้การเปลี่ยนแปลงราบรื่นเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในทุกด้าน เช่น ภาคธนาคารที่เริ่มมีการนำ Deep Tech เข้ามาในกระบวนการ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Platform สำหรับทำการค้าขายระหว่างลูกค้ารายย่อยที่สะดวกยิ่งขึ้นพร้อมกับช่วยลดต้นทุนการจัดการได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ธนาคารสามารถตั้งเป้าไปที่งานบริการให้มีคุณภาพสูงขึ้น การแข่งขันก็จะเป็นไปในทางที่เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภค

 

เชื่อมโยงความรู้เข้าสู่ Ecosystem กลไกการผลักดัน Deep Tech ให้เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ระดับ “การศึกษา”

การพัฒนา Deep Tech ที่ดีที่สุดไม่เพียงแต่ต้องเกิดประโยชน์เท่านั้น แต่ต้องสามารถอยู่ได้ในฐานะธุรกิจ Startup ที่ดี มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์และส่งให้ผู้พัฒนาอยู่ได้ การผลักดัน Ecosystem ให้ครบองค์ประกอบจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก ทั้งการนำความรู้จากงานวิจัยมาต่อยอดเป็นโมเดลธุรกิจ การพัฒนาบุคลากรที่สามารถทำงานตอบโจทย์ดังกล่าว และกลไกสนับสนุนทางธุรกิจอื่นๆ ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือมหาวิทยาลัย Stanford ซึ่งผลักดัน Ecosystem ด้วยความรู้จนทำให้ Silicon Valley ประสบความสำเร็จ

 

ปัจจุบันประเทศไทยมีฐานความรู้กระจายอยู่ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ หากเราสามารถหยิบความรู้เหล่านั้นมาสร้างเป็นไอเดียสำหรับ Startup พัฒนาจนสำเร็จได้ ก็จะเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งความรู้ที่จะถูกหยิบมาต่อยอดมากขึ้น การเพิ่มจำนวนงานวิจัยเพื่อเป็นฐานสำหรับไอเดีย อันจะส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรจากการเข้าระบบการศึกษาโดยตรงด้วย 

 

 

เราต้องสร้าง Deep Tech Ecosystem ที่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำ คือการศึกษาวิจัย จนถึงปลายน้ำ คือเป็นธุรกิจที่อยู่ได้ ประสบความสำเร็จใน Real Sector จริง” – คุณอรพงศ์ เทียนเงิน CEO ของ Digital Ventures

 

สำหรับสาขาของ Deep Tech ที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้เพื่อไล่ให้ทันการแข่งขันด้านดิจิทัลโลก ประกอบด้วย 6 สาขา ได้แก่ Artificial Intelligence, Blockchain, Cloud & Security, Big Data / Internet of Things (IoT), Augmented Reality & Virtual Reality และ Quantum Computing

 

U.REKA จึงพร้อมผลักดัน Startup ที่พัฒนา Deep Tech ใน 6 สาขาข้างต้น โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์จาก 7 มหาวิทยาลัยร่วมกับ Digital Ventures, Microsoft และ Knowledge Exchange เพื่อบ่มเพาะ Deep Tech Startup ด้วยการดูแลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมโอกาสรับเงินลงทุนสูงสุดถึง 10 ล้านบาท ซึ่งโครงการเปิดรับสมัคร นักศึกษา นักวิจัย และอาจารย์เข้าร่วมโครงการทางเว็บไซต์ u-reka.co ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 พฤษภาคมนี้

 

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบกระเทือนเสมอ แต่ก็นับเป็นโอกาสที่ช่วยให้เราเติบโตมากกว่าที่เป็นอยู่ได้ หากเราสามารถเริ่มต้นหาหนทางรับมือตั้งแต่ตอนนี้นั่นเอง ในคราวหน้าเราจะนำเนื้อหาที่ต่อเนื่องในประเด็นนี้จากช่วง Panel โดยคณบดีและอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ของ 7 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ U.REKA มาให้ติดตามกัน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

www.u-reka.co

www.imd.org

www.forbes.com

Comments