รับมืออย่างไรเมื่อถูกแทนที่ด้วย Digital disruption

รับมืออย่างไรเมื่อถูกแทนที่ด้วย Digital disruption

ดิจิตอลและเทคโนโลยี

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

316 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ดังนั้นทุกอย่างบนโลกใบนี้ล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ที่เราจะเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีมากน้อยเพียงใด วันนี้เราอาจได้ยินคำว่า Digital Disruption บ่อยขึ้นและบ่อยขึ้น และสิ่งนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรกับธุรกิจในระดับ SMEs อย่างเราๆ และควรเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งนี้อย่างไร

 

Digital Disruption คืออะไร?

ในยุคดิจิทัลอย่างวันนี้อะไรๆ ก็รวดเร็วว่องไวไปหมด ข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางและเวลาถูกทำลายลงพร้อมกับการมาของอินเทอร์เน็ตและโดยเฉพาะการใช้บนสมาร์ทโฟน Digital Disruption คือผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งทำให้เกิดธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่สามารถตอบสนองผู้บริโภคได้ดีกว่ารูปแบบเดิม จนทำให้ของเดิมถูกใช้งานน้อยลงหรือหายไป

 

เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้นดูตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ คือการมาของ Uber และ Grab ที่เข้ามาเขย่าวงการแท็กซี่แบบดั้งเดิม ทั้ง Uber และ Grab เองต่างก็มีแอปพลิเคชันเข้ามาอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสารได้มากกว่า จนทุกวันนี้ได้รับความนิยมและมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เรียกได้ว่าแอปพิเคชันของทั้งสองค่ายกลายเป็นแอปพลิเคชันสามัญประจำเครื่อง (สมาร์ทโฟน) ไปแล้ว หรืออีกหนึ่งตัวอย่างก็คือผลกระทบของเทคโนโลยีกล้องดิจิทัลที่ทำให้บริษัทบริษัทฟิล์มอย่าง Kodak ต้องล้มละลายไปทั้งที่เคยเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการฟิล์มถ่ายภาพมาก่อน เด็กรุ่นใหม่แทบไม่รู้จักกล้องฟิล์มหากไม่ใช่คนที่สนใจจริงๆ ซึ่งผลกระทบของทั้งสองตัวอย่างข้างต้นเกิดขึ้นในเวลาอันสั้นและรวดเร็วมาก

 

เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างไร

เมื่อมีนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาพลิกโมเดลของธุรกิจในเกือบทุกอุตสาหกรรม แน่นอนย่อมต้องส่งผลต่อธุรกิจแบบเดิมที่มีอยู่ และเรียกได้ว่าเป็นผลกระทบที่รุนแรงเหมือนสึนามิทางธุรกิจเลยทีเดียวก็ว่าได้ ยากที่จะต่อต้านไหว งานนี้อยู่ที่ว่าใครที่มองเห็นและเตรียมพร้อมรับมือได้มากน้อยกว่ากัน และผลจากการวิเคราะห์ 5 อันดับแรกของอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบในปี 2017 ของ Cisco ได้แก่ กลุ่มสื่อและบันเทิง สินค้าและบริการด้านเทคโนโลยี ค้าปลีก บริการด้านการเงิน และโทรคมนาคม ซึ่งก็คงจะเห็นการเปลี่นแปลงที่ชัดเจนตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา

 

SMEs พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

ด้วยความเป็น SMEs ที่มีขนาดองค์กรไม่ใหญ่มากนักจึงทำให้รับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ง่ายกว่า มีความยืดหยุ่นได้มากกว่า เรียนรู้และรับเอาเทคโนโลยีมาใช้ได้รวดเร็วกว่าธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ เมื่อมีการรับเทคโนโลยีเข้ามาจะสามารถดำเนินการได้ทันที แต่อย่างไรก็ตามต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่า วันนี้ยืนอยู่ตรงจุดใด ต้องการไปยังจุดไหน และจะทำอย่างไรถึงจะไปถึง เจ้าของธุรกิจจำเป็นที่จะต้องหาความรู้เพิ่มเติม มีความกระตือรือร้นที่จะหาข้อมูลความรู้ในเทคโนโลยีนั้นให้เข้าใจจริงๆ หรือขอคำแนะนำจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อมาให้การช่วยเหลือได้ทันเวลา นอกจากนี้ต้องมีทีมงานที่มีศักยภาพ การหาลูกทีมก็มีความสำคัญไม่น้อย หากมีลูกทีมที่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานก็จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กประสบความสำเร็จได้

 

เมื่อ Digital disruption มา SMEs จะรับมืออย่างไร

หากแต่เรามานั่งวิตกกังวลอยู่อย่างเดียวคงไม่ใช่ทางออกที่ดีแน่ ดังนั้นขอรวบรวบหลายๆ แนวคิดที่จะมารับมือกับการ Disrupt มาฝากกัน เช่น

  1. ใช้กฎหมายเป็นที่พึ่ง อาศัยอำนาจที่มีอยู่ในตัวกฎหมาย ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตรต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่

  2. อาศัยความชำนาญที่มีอยู่สร้างของใหม่ ถ้าใจยังสู้ มีเงินทุนมากพอ และมีความเชี่ยวชาญและรู้จักตลาดเป็นอย่างดีก็เปิดสินค้าและบริการใหม่เข้ามาแข่งขันเองเลย

  3. ถ้าเห็นแววว่าดีก็ร่วมลงทุนด้วย หากว่าเราเองมีเงินทุนอยู่และเห็นว่าธุรกิจใหม่ที่เข้ามานั้นน่าจะมีแววดีก็ร่วมลงทุนไปด้วยก็น่าจะดี

  4. มองหาตลาดที่เป็นกลุ่มเฉพาะเจาะจง ถ้าเห็นว่าตลาดเดิมน่าจะไปต่อไปไหว ถอยมาพิจารณาแนวทางการทำตลาดใหม่และอาจเลือกเจาะกลุ่มเฉพาะลงไปเพื่อสร้างฐานที่มั้่นคงมากขึ้นดีกว่า

  5. เปลี่ยนไปทำธุรกิจที่ใกล้เคียง เพราะสามารถใช้ความรู้ความชำนาญในธุรกิจที่มีอยู่ประยุกต์ใช้กับธุรกิจใหม่ได้ง่ายเพราะยังใกล้เคียงกับธุรกิจเดิมอยู่

  6. ถ้าไปไม่ไหว ขายออก เอาทุนคืน สุดท้ายถ้าเห็นว่าแข่งขันไปก็มีแต่พัง อาจเลือกใช้วิธีขายธุรกิจแล้วดึงเงินทุนกลับมาแต่เนิ่นๆ

รับมืออย่างไรเมื่อถูกแทนที่ด้วย Digital disruption

Comments (1)